ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของ นางสาวมัณฑนา ผ่องใส

เมาส์

เม้าส์

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

ความรู้เพิ่มเติม

ทศชาติชาดก
              เป็นเรื่องราวของพระพุทธเจ้าตอนเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ ๑๐ ชาติก่อนจะตรัสรู้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละชาติทรงบำเพ็ญ “ทศบารมี” ต่าง ๆ กัน เรียกว่า หัวใจพระเจ้าสิบชาติ
ชาติที่   เตมียชาดก  ( เต )  ทรงบำเพ็ญเนกขัมบารมี  คือ การออกบวช เนื้อเรื่อง คือ พระชาตินี้ทรงเกิดเป็นกษัตริย์  แต่แกล้งทำเป็นใบ้   เพื่อจะเสด็จออกบรรพชาได้สะดวก
ชาติที่ ๒  มหาชนกชาดก  ( ชะ )  ทรงบำเพ็ญวิริยบารมี  คือ ความเพียร เนื้อเรื่อง คือ
พระมหาชนกทรงโดยสารเรือ  เรือแตกต้องว่ายอยู่ในมหาสมุทรถึงเจ็ดวันเจ็ดคืน ในที่สุดขึ้นฝั่งได้จากการช่วยเหลือของเทวดาผู้รักษามหาสมุทร
ชาติที่ ๓  สุวรรณสามชาดก  ( สุ )  ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี คือ ความเมตตา เนื้อเรื่อง คือ พระสุวรรณสามทรงเมตตาสัตว์ในป่าและมีความกตัญญูกตเวทีเลี้ยงดูบิดามารดาที่ตาบอดอยู่ในป่า
ชาติที่ ๔  เนมิราชชาดก  ( เน )  ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือ มีความตั้งใจมั่น  เนื้อเรื่อง คือ พระอินทร์ให้มาตุลีเทพบุตรพาพระเนมิราชไปชมนรกสวรรค์
ชาติที่ ๕  มโหสถชาดก ( มะ )   ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี คือ มีปัญญา เนื้อเรื่อง คือ พระมโหสถ ทรงใช้ปัญญาแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างยอดเยี่ยม
ชาติที่   ภูริทัตชาดก ( ภู )   ทรงบำเพ็ญศีลบารมี คือ การรักษาศีล เนื้อเรื่อง คือ พระภูริทัตถูกหมองูจับตัวไป แต่ก็มิได้ทรงทำอันตรายหมองู เพราะเกรงว่าศีลจะขาด
ชาติที่ ๗  จันทกุมารชาดก ( จะ )   ทรงบำเพ็ญขันติบารมี  คือ ความอดทน เนื้อเรื่อง คือ พระชาตินี้พระองค์ถูกจับบูชายันต์  แต่ในที่สุดพระอินทร์มาช่วยไว้ได้
ชาติที่ ๘  นารทชาดก ( นา )  ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี คือ การวางเฉย เนื้อเรื่อง คือ พระองค์ทรงเกิดเป็นพระพรหม แปลงลงมาทรมานกษัตริย์ที่มิจฉาทิฐิ ให้กลับเป็นสัมมาทิฐิตามเดิม
ชาติที่ ๙  วิทูรชาดก ( วิ )  ทรงเพ็ญสัจจาบารมี  คือ การมีสัจจะ เนื้อเรื่อง คือ พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดปุณกยักษ์ให้หมดยศ
ชาติที่ ๑๐  เวสสันดรชาดก ( เว ) ทรงบำเพ็ญทานบารมี คือ การให้ทาน เนื้อเรื่อง คือ
พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานต่าง ๆ โดนเฉพาะอย่างยิ่งบุตรทารทานบารมี คือ การให้บุตรภรรยาเป็นทาน ชาตินี้เป็นพระชาติสุดท้าย นับว่าเป็นพระชาติที่ยิ่งใหญ่ จึงเรียกพระชาตินี้ว่ามหาชาติ
      
ทศบารมี

               คือ บารมี ๑๐ ประการที่พระเวสสันดรบำเพ็ญจนครบในชาติเดียว มีดังนี้
๑.     เมื่อประสูติได้ตรัสกับพระมารดาว่าจะบำเพ็ญทานและการบริจาคทานทั้งปวงเป็น   
ทานบารมี
๒.  เมื่ออยู่ในฆราวาสวิสัย ทรงรักษาเบญจศีลตลอดเวลา และรักษาอุโบสถศีลทุกๆ ครึ่งเดือนเป็น ศีลบารมี
๓.  เมื่อละกามคุณ ทรงผนวชเป็นดาบสอยู่ที่เขาวงกต เป็น เนกขัมมบารมี
๔.  เมื่อทรงดำริที่จะให้อัชฌัติกทานตั้งแต่ยังอยู่ในทารกภูมิ และเมื่อพระราชทานโอรสทั้งสองแก่ชูชก ทรงใช้วิจารณญาณช่วยให้บรรเทาความเศร้าโศกเสียใจได้ เป็น ปัญญาบารมี
๕.  เมื่อดำรงราชสมบัติทรงอุตสาหะเสด็จออกสู่โรงทาน ๖ แห่ง ทุกๆ ครึ่งเดือน ไม่เคยขาด เมื่อออกบรรพชา ทรงอุตสาหะบูชาไฟตลอด เป็น วิริยะบารมี
๖.  ไม่พิโรธพระราชบิดาที่สั่งให้เนรเทศพระองค์ และทรงอดกลั้นความโกรธ เมื่อเห็นชูชกเฆี่ยนตีพะโอรสทั้งสอง เป็น ขันติบารมี
๗.  เมื่อตรัสปฏิภาณว่าจะให้บุตรทานแก่พราหมณ์ ก็ทรงบริจาคให้ตามสัตย์ นับว่าเป็น    
สัจบารมี
๘.  เมื่อทรงสมาทานมั่น ไม่ให้พระหฤทัยอาลัยพระโอรสทั้งสองและเมื่อกระทำพระทัยมั่นมิได้ หวั่นไหวเกรงภัยจากกองทัพของพระเจ้ากรุงสญชัยที่จะมารับพระองค์กลับพระนคร นับเป็น อธิษฐานบารมี
๙.  เมื่อแผ่พระเมตตาแก่ชาวกลิงคราษฎร์ เมื่อพระราชทานช้างปัจจัยนาค และเมื่อสถิตในเขาวงกตได้แผ่พระเมตตาแก่สรรพสัตว์ทั่วไปเป็น  เมตตาบารมี
๑๐.  เมื่อตัดความเสน่หาอาลัยในพระโอรสทั้งสองได้ ไม่โกรธชูชก ทั้งประทับเป็น
มัชฌัตตารมณ์ ไม่รักไม่ชังผู้ใดเป็น อุเบกขาบารมี
ทศพร
        พร ๑๐ ประการ ที่พระอินทร์ประทานให้พระนางผสุสดี
๑.  ให้ได้อยู่ในปราสาทของพระเจ้าสีวีราชแห่งกรุงสีพี
๒. ให้มีจักษุดำดุจนัยน์ตาของลูกเนื้อทราย
๓.  ให้มีคิ้วโก่งดำสนิท
๔.  ให้มีพระนามว่าผสุสดี
๕.  ให้มีพระโอรสที่ฝักใฝ่ในการบริจาคทาน
๖.   เมื่อเวลาทรงครรภ์มิให้ครรภ์ปรากฏนูนเหมือนสตรีสามัญ
๗.  ให้มีถันอันงาม  เวลาทรงครรภ์มิให้ดำและหย่อนยาน
๘.  ให้มีเกศาสนิท
๙.   ให้มีผิวงาม
๑๐. ให้มีอำนาจปลดปล่อยนักโทษได้
       พร ๘ ประการ
           พร ๘ ประการ ที่พระอินทร์ประทานให้แก่พระเวสสันดร
๑.  ให้บิดาเสด็จมารับพระองค์กลับไปครองราชย์ในนคร
๒. ให้ได้ปลดปล่อยนักโทษทั้งหมด
๓.  ให้ได้ช่วยเหลือคนยากจนให้บริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ
๔.  อย่าให้ลุอำนาจสตรีให้พอใจแต่พระชายาของพระองค์
๕.  ให้กุมารทั้งสองมีมายุยืนนานและเป็นกษัตริย์สืบราชสมบัติ
๖.   ให้ฝนแก้วทั้ง ๗ ประการ ตกในนครสีพีเมื่อพระองค์เสด็จกลับไป
๗.  ให้ได้บริจาคทรัพย์แก่คนยากจน  ด้วยสมบัติในท้องพระคลังอันไม่รู้หมดสิ้น
๘.   เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว ให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต และในพระชาติต่อมาให้ได้บรรลุ
พระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า

การบริจาคทานของพระเวสสันดรที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว ๗ ครั้ง มีดังนี้
๑.  เมื่อทรงปฏิญาณว่าบริจาค พระหทัย พระเนตร พระมังสา หรือพระโลหิต ถ้ามีผู้มาขอ
๒.  เมื่อพระราชทานช้างปัจจัยนาค
๓.  เมื่อพระราชทานมหาทานก่อนเสด็จไปประทับที่เขาวงกต
๔.  เมื่อพระราชทานพระโอรสทั้งสองแก่ชูชก
๕.  เมื่อพระราชทานพระนางมัทรีแก่พระอินทร์ที่แปลงเป็นพราหมณ์
๖.  เมื่อได้พบพระราชบิดา และพระราชมารดาอีกครั้งในป่า
๗.  เมื่อเสด็จนิวัติพระนครสีพี

วิเคราะห์วิจารณ์

คำว่า มหาชาติ หมายถึง การเกิดครั้งยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ หมายความว่าในพระชาติสุดท้ายที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรได้บำเพ็ญบารมีครบถ้วนทุกประการ ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลก คำว่า คำหลวง หมายถึงหนังสือที่พระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายชั้นสูงทรงนิพนธ์หรือหนังสือที่พระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านายชั้นสูงทรงสนับสนุนให้คนอื่นแต่ง เนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับศีลธรรม ศาสนา คำประพันธ์ที่ใช้ค่อนข้างหลากหลายมีทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย ใช้สวดเข้าทำนองหลวง
            มหาชาติคำหลวง เป็นหนังสือมหาชาติภาษาไทยที่เป็นคำหลวงเรื่องแรกของไทย ซึ่งแต่เดิมได้หายไปบ้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ ๒ ทรงให้แต่งซ่อมจนครบ ๑๓ กัณฑ์ ที่แต่งเพิ่มเข้ามาคือ กัณฑ์หิมพาน กัณฑ์ทานกัณฑ์ กัณฑ์จุลพน กัณฑ์มัทรี กัณฑ์สักบรรพและกัณฑ์กษัตริย์
๑.    ผู้แต่ง               
             นักปราชญ์ราชบัณฑิตหลายคนช่วยกันแต่ง ตามพระบรมราชโองการของสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๕

๒. ลักษณะการแต่ง
              ใช้คำประพันธ์หลายประเภทในการแต่ง คือมีทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย โดยมีภาษาบาลีแทรกอยู่ทั้งเรื่อง

๓.  วัตถุประสงค์ในการแต่ง
                วรรณคดีเรื่อง มหาชาติคำหลวง ไม่ได้แต่งสำหรับพระเทศน์ แต่งสำหรับนักสวด สวดให้อุบาสกอุบาสิกาฟังเวลาไปอยู่บำเพ็ญการกุศลที่ในวัด เวลาวันนักขัตฤกษ์  เช่น วันเข้าพรรษา ออกพรรษา หรือเทศกาลอื่น ๆ ประเพณีอันนี้ยังมีมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
๔.  สาระสำคัญ
                มหาชาติคำหลวง มีข้อความแบ่งเป็น ๑๓ ตอน ดังนี้
                ตอนที่ ๑ ว่าด้วยกัณฑ์ทศพร จับเอาตอนพระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ได้เสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าแผ่นดินแคว้นมคธ ครองราชสมบัติอยู่ที่พระนครราชคฤห์ แล้วเสด็จไปโปรดพระเจ้า        สุทโธทนะพระพุทธบิดาพระประยูรญาติในกรุงกบิลพัสดุ์ ณ ที่นั้นได้เกิดฝนโบกขรพรรษ คือ ฝนดุจน้ำตกลงบนใบบัว เป็นฝนวิเศษ กล่าวไว้ว่าใครนึกอยากจะให้เปียก ก็เปียก ใครไม่อยากให้เปียก ก็ไม่เปียก พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายเห็นแล้วเป็นอัศจรรย์จึงกราบทูลพระพุทธองค์ให้ทรงแสดงเหตุผลในเรื่องนี้พระพุทธองค์จึงแสดงมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นเรื่องของพระนางผุสดีขอประทานพร ๑๐ ประการจากพระอินทร์
                ตอนที่ ๒ ว่าด้วยกัณฑ์หิมพานต์ กล่าวถึงพระเวสสันดรว่าทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสญชัยกับนางผุสดี แห่งแคว้นสีวีราษฎร์ ประสูติที่ตรอกพ่อค้า จึงได้นามว่า เวสสันดร ทรงเป็นนักเสียสละผู้ยิ่งใหญ่มาแต่ทรงพระเยาว์ กล่าวคือเมื่อมีพระชนมายุได้เพียง ๔ พรรษาก็ทรงปรารถนาบริจาคอวัยวะของตน เมื่อพระองค์ได้รับราชสมบัติ ทรงมีพระทัยกว้าง จึงได้พระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์แก่พราหมณ์ชาวกลิงคราษฏร์ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชาวเหล่านั้น ทำให้ประชาชนไม่พอใจกันใหญ่ จึงพากันไปกราบทูลพระเจ้าสญชัยให้เนรเทศ
พระเวสสันดรไปอยู่ป่าหิมพานต์ พระเวสสันดรจึงไปอยู่ป่าหิมพานต์
                ตอนที่ ๓  ว่าด้วยกัณฑ์ทานกัณฑ์ ก่อนที่พระเวสสันดรจะเสด็จไปอยู่ป่าหิมพานต์ พระองค์ทรงมีการบริจาคทานที่ยิ่งใหญ่อีก เขาเรียกว่าสัตตดก มหาทาน แปลว่า การให้ที่ยิ่งใหญ่อย่างละ ๗๐๐ คือให้ช้าง ๗๐๐ เชือกให้ม้า๗๐๐ ตัว ให้รถ ๗๐๐ คัน ให้ทาสชาย ๗๐๐ คน ให้ทาสหญิง ๗๐๐ คน ให้โคนม ๗๐๐ ตัวและให้นางสนม ๗๐๐คน
                ตอนที่ ๔ ว่าด้วยกัณฑ์วนปเวสน์ กล่าวถึงพระเวสสันดรทรงพาพระนางมัทรีพระชายา ชาลีโอรส และกัณฑ์หาพระธิดา เสด็จออกจากเมือง ผ่านแคว้นเจตราษฎร์ไปประทับอยู่ที่เขาวงกตในป่าหิมพานต์ (ป่าหิมพานต์นี้เป็นป่าที่ปกคลุมด้วยหิมะเป็นภูเขาใหญ่ อยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเข้าใจว่าเป็น ภูเขาหิมาลัย)
                ตอนที่ ๕ ว่าด้วยกัณฑ์ชูชก กล่าวถึงชูชก พราหมณ์ผู้เป็นขอทาน ซึ่งได้นางอมิตตดาสาวสวยงามมาเป็นภริยา นางใช้ให้ชูชกไปขอกัณหาและชาลี ชูชกรักภริยาจึงเดินทางดั้นด้นไปสืบหาข่าวที่แคว้นสีวีราษฎร์ ผู้คนพากันเกลียดชังชูชก ชูชกก็พยายามหลบหลีกการทำร้ายของชาวบ้านมาจนได้ เดินทางต่อไปก็ไปพบพรานเจตบุตร ได้หลอกล่อให้พรานเจตบุตรบอกทางไปเขาวงกตจนได้
                ตอนที่ ๖ ว่าด้วยกัณฑ์จุลพน กล่าวถึงชูชกพราหมณ์เฒ่าเดินทางผ่านป่าตามที่พรานเจตบุตรบอกให้ เดินไปเรื่อย ๆ จนถึงอาศรมของอัตจุตฤาษี
                 ตอนที่ ๗ ว่าด้วยกัณฑ์มหาพน กล่าวถึงเฒ่าชูชกได้ใช้วิธีหลอกล่อ เพื่อฤาษีอัตจุตบอกทางไปหาพระเวสสันดร
                ตอนที่ ๘ ว่าด้วยกัณฑ์กุมาร กล่าวถึงชูชกเข้าไปกราบทูลขอชาลีกับกัณหาจาก
พระเวสสันดร พระเวสสันดรทรงพระราชทานให้ ชูชกได้ทุบตีกัณหากับชาลีต่อหน้าพระพักตร์ของพระเวสสันดร ก่อนจะเดินทางจากไป
                ตอนที่ ๙ ว่าด้วยกัณฑ์มัทรี กล่าวถึงพระนางมัทรีที่จะเสด็จกลับจากการหาผลไม้ในป่า เมื่อมาถึงไม่เห็นกัณหากับชาลี ก็ออกติดตามจนค่ำคืนดื่นดึกก็ไม่พบ จนถึงกับเป็นลมสลบลงต่อหน้าพระพักตร์ของพระเวสสันดร เมื่อฟื้นขึ้นพระเวสสันดรจึงตรัสเล่าเรื่องราวให้ฟังโดยตลอด เหตุผลก็คือเป็นการบริจาคครั้งยิ่งใหญ่ของผู้ต้องการออกบวชเป็นพระพุทธเจ้าพระนางมัทรีถึงจะโศกเศร้าเพียงไร ในที่สุดก็ต้องอนโมทนาสาธุการเห็นดีด้วย
                ตอนที่ ๑๐ ว่าด้วยกัณฑ์สักกบรรพ กล่าวถึงท้าวสักกะ พระอินทร์ ในฐานะที่เป็นจอมแห่งเทวดาเกิดความเกรงพระทัยว่าจะมีผู้มาทูลขอพระนางมัทรีไปเสียอีกคน จึงทรงแปลงพระองค์เป็นพราหมณ์ชรามาทูลขอพระนางมัทรีกับพระเวสสันดรแล้วก็ทรงฝากไว้กับ
พระเวสสันดรนั่นแหละ
                ตอนที่ ๑๑ ว่าด้วยกัณฑ์มหาราช กล่าวถึงตาเฒ่าเจ้าเล่ห์ชูชกเดินทางไปแคว้นสีวีราษฎร์ พระเจ้าสญชัยทรงไถ่กัณหากับชาลีให้เป็นอิสระ และทรงเลี้ยงเฒ่าชูชกอย่างเต็มที่ ปรากฏว่าชูชกสวาปามไปเต็มคราบจนถึงกับต้องตายเพราะความงกกิน
                ตอนที่ ๑๒ ว่าด้วยกัณฑ์ฉกษัตริย์ กล่าวถึงพระเจ้ากรุงสญชัยเสด็จด้วยพระนางผุสดี กัณหาและชาลี เพื่อไปรับพระเวสสันดรและพานางมัทรีกลับพระนคร เมื่อกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ ทรงพบกันที่เขาวงกต ก็ทรงถึงแก่วิสัญญีภาพทั้ง ๖ พระองค์ ด้วยความดีพระทัยที่ได้พบกันอีก ด้วยทรงนึกว่าคงไม่ได้พบกันอีกแล้ว และด้วยความเศร้าพระทัย ที่ต้องพลัดพรากจากกันไปนาน ในตอนนี้ พระอินทร์ผู้มีนามว่าท้าวสักกะจอมเทวดาได้ทรงบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกลงมา สร้างความชุ่มชื่นทำให้กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ ทรงฟื้นสติขึ้นมา
                ตอนที่ ๑๓ เป็นตอนสุดท้าย ว่าด้วยกัณฑ์นครกัณฑ์ กล่าวถึงกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ เสด็จกลับถึงพระนคร แคว้นสีวีราษฎร์ และพระเวสสันดรก็ได้ครองราชย์สมบัติตามเดิม บ้านเมืองมีความสงบสุข ประชาชนร่มเย็นตามเดิม

คำศัพท์

ลำดับ
คำศัพท์
ความหมาย
๑.
คาถาพัน
บทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดกที่แต่งเป็นภาษาบาลีล้วน ๆ พันบท  เรียกการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็นคาถาล้วน ๆ อย่างนี้ว่า  เทศน์คาถาพัน
๒.
บุตรทารทาน
การให้ทานโดยสละบุตรและภรรยา (ทาร)
๓.
ภัทรกัป
กัปอันเจริญหรือกัปที่ดีแท้ เป็นชื่อของกัปปัจจุบันนี้ คือกัปที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ ๕ พระองค์
๔.
สมุจเฉทปหาร
การละกิเลสได้โดยเด็ดขาดด้วยอริยมรรค
๕.
สังสารวัฏ
การเวียนไหว้ตายเกิด

ประวัติความเป็นมา

   เรื่องราวที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในพระชาติกำเนิดอันยิ่งใหญ่ คือเป็นพระเวสสันดรชาดกเรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งใน นิบาตชาดก มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เรามักเรียกนิบาตชาดกเป็นไทยๆว่า พระเจ้าห้าร้อยห้าสิบชาติ นิบาตชาดกเป็นคัมภีร์ซึ่งประกอบไปด้วยนิทานเรื่องต่างๆ ล้วนเป็นอุทาหรณ์สอนธรรมะเล่าถึงการเสวยพระชาติในอดีตของพระพุทธเจ้าว่าชาติใดทรงเกิดเป็นอะไร และได้ทรงกระทำคุณความดี หรือที่เรียกกันเป็นศัพท์ว่า "บำเพ็ญบารมี" อะไรใน   พระชาตินั้นๆ พระชาติหนึ่งก็ทรงสร้างคุณความดีหรือบารมีอย่างหนึ่งทุกชาติไป ในจำนวน ๕๕๐  พระชาติที่ปรากฏในนิบาตชาดกนั้นได้บำเพ็ญบารมีเด่นยิ่งอยู่ ๑๐ ชาติ ที่เรียกกันว่า ทศชาติ ทรงบำเพ็ญทศบารมี คัมภีร์ที่กล่าวถึงทศชาติและบารมีนี้เรียกว่า คัมภีร์มหานิบาต ในทศชาติตามมหานิบาตนั้น ที่ถือว่าสำคัญที่สุด คือ พระชาติที่ทรงบังเกิดเป็นพระเวสสันดร นอกจากจะทรงบำเพ็ญทานบารมีเป็นที่เด่นที่สุดแล้วยังทรงบำเพ็ญบารมีอื่นๆ อันได้กระทำแล้วใน๙   พระชาติก่อนๆ อีกด้วย เท่ากับได้ทรงกระทำคุณความดีเด่นยิ่งครบ ๑๐ ประการในชาตินี้       มหาเวสสันดรชก จึงเป็นชาดกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด บางครั้งจึงเรียกชาดกเรื่องนี้ว่า มหาชาติ พุทธศาสนิกชนชาวไทยนับถือกันมาตั้งแต่ครั่งโบราณว่า  มหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกที่สำคัญว่าชาดกอื่น เพราะว่าด้วยเรื่องราวที่ปรากฏของพระโพธิสัตว์อยู่ด้วยบริบูรณ์ทั้ง  ๑๐ บารมี  และพุทธศาสนิกชนชาวไทยก็นิยมฟังเทศน์กันมาด้วยตลอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  เรื่อง มหาเวสสันดรชาดกนั้นมีสันนิษฐานพบหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา และถือว่าเป็น      มหาเวสสันดรชาดกที่แปลแล้วนำมาแต่งเป็นภาษาไทยเล่มแรก  คือ มหาชาติคำหลวง ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระกรุณาโปรดเกล้า ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยแปลและเรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.๒๐๒๕ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ได้โปรดเกล้า ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิต เรียบเรียงมหาเวสสันดรชาดกเป็นภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ..๒๑๗๐  เรียกว่า กาพย์มหาชาติ   แต่งแปลเป็นภาษาไทยใช้    ฉันทลักษณ์เดียวคือ     ร่ายยาว เพื่อใช้สำหรับเทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกาได้ฟัง  นอกจากนั้นยังมีผู้นำ มหาเวสสันดรชาดก ไปแต่งเป็นภาษาไทยอีกหลายจำนวน   และใช้คำประพันธ์หลายชนิด เช่น กลอน ฉันท์  กาพย์ ลิลิต และ ร้อยแก้ว รวมทั้งยังมีมหาเวสสันดรชาดกที่เป็นภาษาถิ่นอีกหลายฉบับดังนี้
๑.  มหาชาติภาคกลาง เมื่อ พ.๒๔๕๐ กรมศึกษาธิการได้รวบรวมมหาชาติสำนวนต่างๆเนื้อหาอยู่ในคัมภีร์เทศน์มหาชาติเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ๑๓ กัณฑ์ ๑๐๐๐ พระคาถา ซึ่งเทศน์ด้วยภาษาไทยถิ่นกลางหรือภาษาไทยมาตรฐาน เทศน์มหาชาติภาคกลาง มีทั้งทำนองหลวงและทำนองราษฎร์ มีทั้งเทศน์ในวัง และเทศน์ในวัด เทศน์ในวังเทศน์แบบทำนองหลวงอย่างเดียว เทศน์ในวัดมีทั้งทำนองหลวงและทำนองราษฎร์ ส่วนวัดขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมด้านบุคลากร จะเทศน์มหาชาติแบบเรียงกัณฑ์ทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ตามคัมภีร์เรียกว่าทำนองหลวง เทศน์นอกคัมภีร์เรียกว่าทำนองราษฎร์ บางวัดก็เทศน์แบบผสมผสาน เรียกว่าเทศน์ทั้งเนื้อนอกเนื้อใน ที่มีผู้แต่ง   ๖ ท่าน ดังนี้
-    กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์  กัณฑ์วนปเวศน์  กัณฑ์จุลพน กัณฑ์สักกบรรพ
 กัณฑ์มหาราช และ นครกัณฑ์ พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรส
-    กัณฑ์วนปเวศน์    กัณฑ์จุลพน และกัณฑ์สักกบรรพ พระราชนิพธ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
-    กัณฑ์กุมาร  กัณฑ์มัทรี งานนิพนธ์ เจ้าพระยาพระคลัง(หน)
-    ทานกัณฑ์ งานนิพนธ์ สำนักวันถนน
-    กัณฑ์ชูชก งานนิพนธ์ สำนักวัดสังข์กระจาย
     สำนวนดังกล่าวนั้นแต่งเป็นร่ายยาว นิยมเรียกว่า  มหาชาติคำกลอน พระสงฆ์นิยมเอามาเทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกาได้ฟังกัน


๒.  มหาชาติภาคเหนือ  สำนวนที่น่าสนจำได้แก่ มหาชาติสำนวนสร้อยสังกร และสำนวนที่รวบรวมโดย พระอุบาลีคุณูปมาจราย์  แต่งเป็นร่ายยาว ที่มีคำคล้องจอง สัมผัสกันไปในแต่และวรรค เป็นมหาชาติที่มีเนื้อความและสำนวนภาษาคล้ายกับมหาชาติของภาคเหนืออีกสำนวนหนึ่ง ที่เรียกว่า สำนวนไม้ไผ่แจ้เจียวแดง ซึ่งเชื่อว่าแต่งในสมัยอยุธยา และเป็นต้นแบบของมหาชาติภาคเหนืออื่นๆ
.   มหาชาติภาคอีสาน นั้นมีหลายสำนวนแต่ละวัดต่างใช้ฉบับของท้องถิ่นและคัดลอกสืบต่อมา ชาวอีสานส่วนใหญ่ได้รับวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขงมาโดยตลอด และพิธีบุญพระเวส หรือ           บุญเผวสหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบุญมหาชาติ มีการทำกันเดือนใดเดือนหนึ่ง ในระหว่างออกพรรษาจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้แล้วแต่สะดวก แต่ส่วนมากนิยมทำกันในเดือนสี่ดังมีคำพังเพยว่า "เดือนสามด้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่เดือนสี่ด้อยจัวน้อยเทศน์มะที" (คำว่า เจ้าหัว หมายถึงพระภิกษุ จัว หมายถึงสามเณร มะที หมายถึง มัทรี) บางแห่งทำในเดือนหกหรือเดือนเจ็ดก็มีและหากทำในเดือนหกหรือเดือนเจ็ดมักจะทำ บุญบั้งไฟรวมด้วยก่อนจัดงาน ทางบ้านและวัดจะมีการปรึกษาหารือตกลงกันให้เรียบร้อยก่อนทางชาวบ้านจะจัด อาหารการกิน เช่น ขนม ข้าวต้ม และอาหารคาวต่าง ๆ สำหรับถวายพระภิกษุสามเณรและเลี้ยงแขกเลี้ยงคนที่มาร่วมงาน และจัดหาปัจจัยไทยทานสำหรับใส่กัณฑ์เทศน์เพื่อถวายพระภิกษุสามเณร ส่วนทางวัดก็แบ่งหนังสือออกเป็นกัณฑ์ ๆ หนังสือผูกหนึ่งอาจแบ่งเป็นหลายกัณฑ์ก็ได้เพื่อให้ชาวบ้านได้รับกัณฑ์โดย ทั่วถึงกัน มอบหนังสือให้พระภิกษุสมเณรในวัดนั้นเพื่อเตรียมไว้เทศน์ นอกนั้นจะมีการนิมนต์พระจากวัดอื่นมาเทศน์ โดยจะมีฎีกาไปนิมนต์พร้อมบอกชื่อกัณฑ์และบอกเชิญชวนชาวบ้านที่วัดนั้นตั้ง อยู่มาร่วมทำบุญด้วย ซึ่งตามปรกติเมื่อพระภิกษุสามเณรมาร่วมงานก็จะมีญาติโยมในหมู่บ้านนั้น ๆ ตามมาฟังเทศน์และร่วมงานด้วยหมู่บ้านและมาก ๆ หัวหน้าหรือผู้จัดงานในหมู่บ้านที่เป็นเจ้าของงานจะบอกบุญชาวบ้านในหมู่บ้าน ของตน ให้รับเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์กัณฑ์ใด กัณฑ์หนึ่งจนทั่วถึงกันและบอกจำนวนคาถาของแต่ละกัณฑ์ให้ทราบด้วยเพื่อเตรียม ความเทียนมาตามจำนวนคาถาของกันฑ์ที่คนซึ่งจำนวนคาถาของกัณฑ์ต่าง ๆมีดังนี้               ทศพร ๑๙ คาถา หิมพานต์ ๑๓๔ คาถาทานกัณฑ์ ๒๐๙ คาถา วนปเวสน์ ๕๗ คาถาชูชก ๗๙ คาถา จุลพน ๓๕ คาถามหาพน ๘๐คาถา กุมาร ๑๐๑ คาถามัทรี ๙๐ คาถาสักบรรพ ๔๓          คาถามหาราช ๖๙ คาถากษัตริย์ ๓๖ คาถาและนครกัณฑ์ ๔๘ คาถา รวม ๑๐๐๐ คาถาพอดีชาวบ้านยังแบ่งหน้าที่กันด้วยว่าใครเป็นผู้รับเลี้ยงพระภิกษุสามเณร และญาติโยมหมู่บ้านใด โดยแบ่งหน้าที่มอบให้รับผิดชอบเป็นกลุ่ม ๆ เนื่องจากแต่ละวัดมีชาวบ้านจากหลายหมู่บ้านไปร่วมกันมากชาวบ้านจึงช่วยกัน ปลูกที่พักชั่วคราวขึ้น เรียกว่า ตูบ (กระท่อม) หรือผาม (ปะรำ) จะปลูกรอบบริเวณวัดรอบศาลาหรือรอบกฏิก็ได้ตูบมีขนาดกว้างประมาณ ๔ ศอก ยาวตามความเหมาะสมหลังคาเป็นรูปเพิงหรือเป็นจั่วก็ได้ พื้นปูด้วยกระดานหรือฟากที่พักนี้กะจัดทำให้พอเพียง และให้เสร็จเรียบร้อยก่อนวันเริ่มงาน
.มหาชาติภาคใต้ สำนวนที่น่าสำนวนที่น่าสนใจ เช่น พระมหาชาดก ฉบับ วัดมัชฌิมาวาส จังหวัดสงขลา ไม่ปรากฏผู้แต่ง ทราบเพียงชื่อผู้ที่ทำการคัดลอก คือ พระภิกษุญีมเซ่า คัดลอกลงในสมุดข่อย เมื่อ พ..2395ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยแต่งเป็น     กาพย์ยานี11 กาพย์ฉบัง16 กาพย์สุรางคนางค์28 และมาลีนีฉันท์ 15 มหาชาติทางภาคใต้นั้นเน้นการพรรณนามากว่าภาคเหนือและภาคอีสาน แต่น้อยกว่าภาคกลางโดยเน้นแสดงลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น เช่น เรื่องอาหาร พรรณไม้ ภูมิประเทศ